วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่13

1.จงอธิบายถึงธรรมชาติและแหล่งกำเนิดเสียงมาพอเข้าใจ
ตอบ ธรรมชาติของเสียง เสียงเป็นคลื่นกลชนิดคลื่นตามยาวเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ และสามารถถ่ายโอนพลังงานการสั่นของตัวก่อกำเนิดเสียงไปในตัวกลางยืดหยุ่น เช่น อากาศ ของเหลว ของแข็ง เป็นต้น เสียงไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศไปได้ เสียงเกิดขึ้นได้อย่าง จากการศึกษาพบว่าเมื่อวัตถุเกิดการสั่นจะเกิดสียงขึ้น เช่น การสั่นของเส้นเสียงในกล่องเสียง ขณะมีการเปล่งเสียงพบว่าเมื่อจับที่ลำคอจะรู้สึกว่ามีการสั่นภายในลำคอหรือการสั่นของสายกีตาร์ เมื่อสายกีตาร์สั่นจะเกิดเสียง แต่เมื่อสายกีตาร์หยุุดสั่น เสียงก็จะเงียบไป จากการศึกษาพบว่าการได้ยินเสียงมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. แหล่งกำเนิด 2.ตัวกลาง 3.ผู้ฟัง
แหล่งกำเนิดเสียง เสียงเกิดจาก การสั่นของวัตถุ เราสามารถทำให้วัตถุสั่นด้วยวิธีการ ดีด สี ตีและเป่า เมื่อแผล่งกำเนิดเสียงเกิดการสั่น จะทำให้โมเลกุลอากาศสั่นตามไปด้วย โดยมีความถี่เท่ากับการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง การสั่นของลำอากาศ ทำให้เกิดการเรียงตัวของโมเลกุลแตกต่างไปจากเดิม บางตำแหน่งโมเลกุลของอากาศจะเคลื่อนที่ไปอยู่ชิดติดกันมากขึ้นเรียกว่าช่วงอัด บางตำแหน่งโมเลกุลของอากาศจะอยู่ห่างกันมากขึ้นเรียกว่าช่วงขยาย ซึ่งพลังงานของการสั่นจะแผ่ออกไปรอบๆแหล่งกำเนิดเสียงตรงกลางส่วนอัดและตรงกลางส่วนขยายโมเลกุลอากาศจะไม่มีการเคลื่อนที่(การกระจัดเป็นศูนย์) แต่ตรงกลางส่วนอัดความดันอากาศจะมากและตรงกลางส่วนขยายความดันอากาศจะน้อยมาก
2.จงอธิบายหลักการและองค์ประกอบของการขยายเสียงให้ถูกต้อง

ตอบ การขยายเสียงมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1 แหล่งต้นเสียง (Input Signal) หมายถึงส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตต้นกำเนิดเสียงออกมาเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า เช่น ไมโครโฟน เทปบันทึกเสียง ซีดี และอื่น ๆ

2 เครื่องขยายเสียง (Amplifier) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้า จากแหล่งต้นเสียงให้มีสัญญาณแรงขึ้นหลาย ๆ เท่าตัว แล้วส่งต่อไปยังลำโพง
3 ลำโพง (Speaker) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้า ที่ส่งมาจากเครื่องขยายเสียงให้เป็นคลื่นเสียง ซึ่งมนุษย์เราจะรับฟังได้
การทำงานของระบบขยายเสียงเกิดขึ้นเมื่อ Input signal ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อส่งต่อเข้าสู่ Amplifier ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
-Pre-Amp ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าเข้ามาแล้วควบคุมความแรงของสัญญาณนั้นให้มีความแรงของสัญญาณคงที่ สม่ำเสมอ
-Tone ทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณไฟฟ้า ให้เกิดความไพเราะ เช่น ปรุงแต่งเสียงทุ้ม (Bass) และปรุงแต่งเสียงแหลม (Treble)
-Power Amp ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ปรุงแต่งแล้วให้มีความแรงของสัญญาณเพิ่มขึ้น แล้วส่งไปยังลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นเสียง เพื่อให้มนุษย์เราได้ยิน


3.จงอธิบายหน้าที่และชนิดของไมโครโฟนอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ ไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นไดอะแฟรม จะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่มีแรงคลื่นไฟฟ้าต่ำมาก ต้องส่งเข้าไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นอีกทีหนึ่ง
ชนิดของไมโครโฟน แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ ไมโครโฟนแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ
1) แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์
2) แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า

ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก
3) แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับ

เครื่องยานพาหนะ
4) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น

แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด
5) แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมา

ในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน
เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ
6) แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง


4.จงอธิบายและหลักการและส่วนประกอบของเครื่องขยายเสียงให้ถูกต้อง
ตอบ หลักการสำหรับเครื่องขยายเสียงทั่วๆไป มักจะมีภาคขยายสัญญาณ ก่อนจะเข้าเครื่องขยายเสียง เราเรียกภาคนี้ว่า ภาคปรีแอมป์พลิฟลายเออร์ (Pre- amplifier) ซึ่งจะทำงานเหมือนกับภาคแอมพลิฟลายเออร์ทุกประการเพียงแต่สัญญาณขยายอ่อนกว่า เพื่อไม่ให้ขยายสัญญาณผิดเพี้ยน ดังนันเครื่องขยายเสียงราคาแพง จะมีภาคปรีแอมป์ หลายช่วงก่อนที่จะขยายเสียงออกทางลำโพง ทำให้ได้สัญญาณออกมาแรง และเหมือนกับสัญญาณขาเข้าทุกประการ หรือถ้าปรับแต่ง อาจจะไพเราะกว่าเสียงจริงก็ได้ พวกนักร้องคาราโอเกะนิยมมากทั้งๆที่เสียงขาเข้าไม่ค่อยจะไพเราะนัก แต่พอผ่านการปรับแต่ง กลายเป็นเสียงนักร้องก็เป็นได้
ส่วนประกอบด้านหน้าของเครื่องขยายเสียง ได้แก่
- ปุ่มควบคุม (Control Knobs) Mic.1 Mic.2 Mic.3 เป็นปุ่มควบคุมการรับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงจากไมโครโฟน แต่ละตัวเพื่อทำการปรับความดังของไมโครโฟนแต่ละตัวแยกอิสระจากกัน
- ปุ่มควบคุม Phono เป็นปุ่มควบคุมสัญญาณที่มาจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง (Phonograph)
- ปุ่มควบุคม Aux. เป็นปุ่มควบคุมสัญญาณที่มาจาก Auxiliary เช่นเครื่องบันทึกเสียงที่มีการขยายสัญญาณกำลังต่ำมาก่อนแล้ว หรืออาจใช้ควบคุมอุปกรณ์รับสัญญาณเข้าอื่นๆ ที่ไม่มีปุ่มควบคุมอยู่ด้านหน้าด้วย - ปุ่มควบคุมการปรับแต่งเสียงทุ้ม (Bass) และแหลม (Treble) หรือปุ่ม Tone Control ใช้เพื่อปรับเสียงทุ้มแหลม ของเสียงให้มากขึ้น ในเครื่องขยายเสียงบางรุ่นอาจรวม ปุ่มปรับแต่ทุ้มแหลมนี้ไว้ในปุ่มเดียวกันก็เป็นได้
- ปุ่มควบคุมการขยายกำลัง (Master volume) ทำหน้าที่ควบคุมสัญญาณให้มีเสียงดังเบา ก่อนจะออกทางลำโพง ซึ่งปุ่มนี้จะทำหน้าที่ร่วมกับปุ่มอื่นๆ ทุกปุ่มข้างต้นด้วย ดังนั้นการที่ปรับปุ่ม Master volume ดังเบา ก็จะทำให้เสียงที่ออกทางลำโพงดังเบาตามปุ่มนี้เป็นสำคัญ
- สวิตช์ไฟฟ้า (Switch) ใช้เปิด (On) เมื่อต้องการเริ่มใช้งาน และใช้ปิด (Off) เมื่อเลิกใช้งาน - หลอดไฟหน้าปัด (Pilot lamp) หลอดไฟฟ้าแสดงให้ทราบว่า มีไฟฟ้าเข้าเครื่องฯ หรือไม่

5.ระบบของเครื่องขยายเสียงมีกี่ระบบอะไรบ้าง
ตอบ มี 2 ระบบ ดังนี้
1. เครื่องขยายเสียงไฮ-ไฟ
2. เครื่องขยายเสียงแบบที่ไม่ใช่ไฮไฟ
เครื่องขยายเสียงแบบไฮ-ไฟจะเป็นเครื่องขยายเสียงที่สามารถตอบสนองได้ทุกย่านความถี่ตลอดความถี่เสียง นั่นคือเครื่องขยายประเภทนี้จะให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าเครื่องขยายแบบไม่ใช่ไฮ-ไฟ เครื่องขยายประเภทนี้เช่น เครื่องขยายเสียงในโรงภาพยนตร์ มินิคอมโป ลำโพงที่มีซับวูฟเฟอร์อยู่ด้วย เป็นต้น
เครื่องขยายแบบไม่ใช่ไฮ-ไฟนั้นจะไม่เน้นที่คุณภาพของเสียง แต่จะเน้นที่ความดังของเสียงเท่านั้น เครื่องขยายเสียงประเภทนี้จะให้คุณภาพเสียงเฉพาะที่ความถี่ใดๆ ความถี่หนึ่งๆ เท่านั้น เช่น เครื่องขยายเสียงแบบประกาศ รถโฆษณา เป็นต้น

6.จงอธิบายหน้าที่และประเภทของลำโพงให้ถูกต้อง
ตอบ หน้าที่ของลำโพงเปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าที่ได้มาจากเครื่องขยายเป็นสัญญาณเสียง ลำโพงที่ดีจะต้องสร้างเสียงให้เหมือนกับต้นฉบับเดิมมากที่สุด โดยมีการผิดเพี้ยนน้อยที่สุด
ประเภทลำโพง
1.ทวีทเตอร์ คือลำโพงที่มีขนาดเล็กสุดของตู้ลำโพงออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่สูง
2.
มิดเรนจ์ คือลำโพงขนาดกลางของตู้ลำโพงถูกออกแบบมาเพื่อให้เสียงในช่วงความถี่เป็นกลางๆ
คือไม่สูงหรือ ไม่ต่ำมากเกินไป
3.
วูฟเฟอร์ คือลำโพงที่มีขนาดใหญ่สุดของตู้ลำโพงออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่ต่ำ
4.
ซับวูฟเฟอร์ คือลำโพงที่ทำหน้าที่ขับความถี่เสียงต่ำสุด มักมีตู้แยกต่างหาก และใช้วงจรขยายสัญญาณในตัว

7.จงบอกข้อควรคำนึงในการใช้ไมโครโฟนมาอย่างน้อย 3ชนิด
ตอบ 1.ไม่เคาะหรือเป่าไมโครโฟน
2.อย่าให้ไมโครโฟนล้มหรือตกเป็นอันขาด
3.ไม่ควรพูดใกล้หรือห่างไมโครโฟนเกินไป โดยทั่ว ๆ ไปจะพูดห่างประมาณ 1-4 นิ้ว ถ้าไมโครโฟนรับเสียง

ไวมากควรพูดห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
4.บริเวณใกล้ ๆ ไมโครโฟนควรขจัดเสียงรบกวนอย่าให้หมด เช่น พัดลม, เครื่องปรั อากาศ
5.ควรติดตั้งไมโครโฟน ให้ห่างจากลำโพง ถ้าจำเนจะต้องอยู่ใกล้กัน ควรหันหน้า ลำโพงเนีออกไปไมให้มา

ตั้งฉากกับไมโครโฟน
6.ไม่ควรให้ไมโครโฟนเปียกน้ำหรือของเหลว
7.หลังจากเลิกใช้ไมโครโฟนควรเก็บใส่กล่องไว้ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และ การกระทบกระเทือน


8.จงบอกข้อควรคำนึงในการใช้เครื่องขยายเสียงมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1. ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าใช้ไฟฟ้ากระแสตรงหรือสลับ
2.ขณะเครื่องขยายเสียงทำงานไม่ควรถอดหรือต่อสายลำโพง
3.ไม่ติดตั้งที่ ๆ มีความร้อนหรือความชื้นสูง


9.จงบอกข้อควรคำนึงในการใช้ลำโพงมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1. ควรใช้ลำโพงที่มีกำลังวัตต์เหมาะสมกับเครื่องขยายเสียง
2. ควรต่อลำโพงให้มีขนาดของอิมพิแดนซ์ตรงกับค่าอิมพีแดนซ์ของเครื่องเสียง
3. ควรต่อลำโพงให้ตรงเฟสกับขั้วเครื่องเสียง

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่11

จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้ความสมบูรณ์และถูกต้อง
1.โสตทัศนูปกรณ์ มาจากคำใดบ้าง มาจากคำประสม โสตะ (การได้ยิน) Audio + ทัศนะ (การมองเห็น) Visual + อุปกรณ์
และตรงกับภาษาอังกฤษว่า Adio-Visual Equipments

3.Synchronize Tape คือ เครื่องบันทึกเสียงระบบสัมพันธ์ภาพและเสียง

4.Dissolve Control Unit คือ เครื่องควบคุมการฉาย

5.Rotary Tray คือ เป็นเครื่องฉายแบบถาดกลม

6.เครื่องฉายฟิล์มสตริฟสามารถใช้ร่วมกับเครื่องฉาย สไลด์ ได้

7.ภาพเคลื่อนไหวของภาพยนตร์เกิดจากหลักการ -มอเตอร์-เฟืองหนามเตย-ล้อส่งฟิล์ม (Feed Reel)-กวัก (Intermittent)-ใบพัดตัดแสง (Shutter)-ล้อรับฟิล์ม (Take-up Film)-คลัทช์ (Clutch)

8.ระบบประสาทในสมองจำภาพติดตาอยู่ได้ประมาณ 1 ใน 10 วินาที

9.วัสดุฉายที่ใช้ได้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ได้แก่ 1.ตัวเครื่องฉาย 2.แขนเครื่องฉายและหัวฉาย
3.อุปกรณ์การฉายพิเศษ

10.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของโสตทัศนูปกรณ์ประเภทแสงมาอย่างน้อย 2 ชนิด
ตอบ 1.หลอดฉายและแผ่นสะท้อนแสง หลอดฉายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 3 ชนิด
คือ1.1หลอดอินแคนเดสเซนต์ (Incandescent Lamp) เป็นหลอดฉายแบบเก่ามีขนาดใหญ่
ภายในหลอดบรรจุด้วยไนโตรเจนหรืออาร์กอน ไส้หลอดทำด้วยทังสเตน ให้ความร้อนสูง อายุการใช้งาน
ต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 10 ชั่วโมง
1.2หลอดฮาโลเจน (Halogen Lamp) มีขนาดเล็กกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ตัวหลอดทำด้วยหิน
(Quartz) ทนความร้อนได้ดี ภายในหลอดบรรจุด้วยสารเฮโลเจน และไอโอดิน ให้แสงสว่าง ขาวนวล
สดใส อายุการใช้งานต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 50 ชั่วโมง หลอดชนิดนี้ใช้กับเครื่องฉายสไลด์
1.3หลอดซีนอนอาร์ค (Zenon Arc Lamp) มีลักษณะเป็นหลอดยาวตรงกลางโป่งออก ภายในบรรจุ
ด้วยก๊าซซีนอน แสงสว่างเกิดจากอนุภาคของไฟฟ้าจากขั้วหนึ่ง แสงสีขาวแรงจัดมาก หลอดชนิดนี้ผลิตขึ้นมา
เพื่อใช้ทดแทนการอาร์คด้วยแท่งถ่าน ซึ่งต้องปรับระยะของถ่านชดเชยการสึกกร่อนอยู่ตลอดเวลา
2.วัสดุฉาย (Projected Matereals) คือวัสดุที่ใช้ควบคุ่กับเครื่องฉายเพื่อขยายเนื้อหาหรือรูป
ภาพให้มีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน เช่นฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นภาพโปร่งแสง และรูปภาพ
ทึบแสง วัสดุฉายแสงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
2.1วัสดุโปร่งใส (Transparent Materials)
2.2วัสดุโปร่งแสง (Translucent Materials)
2.3วัสดุทึบแสง (Opaque Materials)

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่10

1.ป้ายนิเทศมีลักษณะอย่างไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ ป้ายนิเทศ คือ แผ่นป้ายที่ใช้จัดแสดงทางการศึกษา หรือเป็นสื่อการเรียนการสอนใช้ถ่ายทอดความรู้ เรื่องราว ความคิด ข่าวสารโดยรูปภาพ แผ่นภาพ แผนภูมิ สถิติ ของจริง ของจำลองและอื่นๆ เสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามลำพัง และเรียนรู้ได้ง่าย

2.จงบอกประโยชน์ของป้ายนิเทศมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1. เป็นสื่อเร้าความสนใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน
2. เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนทุกคนได้ศึกษาร่วมกัน โดยอาศัยเนื้อหาที่จัดแสดงไว้บนป้ายนิเทศ
3. เป็นสื่อที่ใช้ในระหว่างการสอนหรือใช้ในการทบทวนบทเรียน
4. เป็นสื่อที่นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง
5. เป็นสื่อที่นักเรียนได้ร่วมกันจัดทำป้ายนิเทศ

3.ป้ายนิเทศที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรจงบอกมา 5 ข้อ
ตอบ 1. ใช้ภาพเป็นที่น่าสนใจเป็นพิเศษ
2. มีเรื่องราวครบบริบูรณ์แต่ไม่ควรจัดมากกว่า 1 เรื่อง
3. มีความต่อเนื่องกันและมีความกลมกลืนกัน
4. มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว จุดอื่นๆเป็นจุดรอง
5. สามารถสร้างความรู้สึก ให้ผู้ดูสนใจติดตามการเคลื่อนไหว

4.จงอธิบายถึงการวางแผนในการจัดป้ายนิเทศมาทั้ง 7 ข้อ
ตอบ 1.ป้ายนิเทศ 1 ป้าย ควรแสดงเรื่องหรือความคิดเพียงเรื่องเดียว
2.ต้องมีชื่อเรื่อง โดยมีเทคนิคการตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ และประดิษฐ์โดยใช้ตัวอักษร หรือวัสดุต่าง ๆ
มาประกอบ หรือกระตุ้นและเร้าความอยากรู้ของผู้ดู
3.ควรวางแผนการจัดก่อนลงมือจัดจริง โดยคำนึงถึงหลักการออกแบบที่ดี การใช้ภาพที่เหมาะสม
และสอดคล้องกับเนื้อหา ตลอดจนใช้วัสดุอื่น ๆ มาใช้ประกอบ
4.ใช้สีหรือทำให้น่าสนใจ ทั้งในส่วนที่เป็นเนื้อหาหรือการจัดทำพื้นป้าย
5.ใช้เส้นหรือทิศทางการจัดวาง เพื่อเป็นเครื่องช่วยนำสายตาของผู้ดูให้เกิดการรับรู้ที่ต่อเนื่องกัน
6.ควรมีข้อความหรือคำอธิบายสั้น ๆ ประกอบ เพื่อให้ผู้ดูสามารถเรียนรู้สาระจากป้าย การใช้ตัวอักษร
ในส่วนนี้ ควรมีลักษณะที่อ่านง่าย ชัดเจน
7.ควรมีการประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนรู้คุณค่าของการจัดป้าย

5.หลักเกณฑ์ในการจัดป้ายนิเทศมีอะไรบ้างจงยกมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ1.การกระตุ้นความสนใจ
2.การมีส่วนร่วม
3.การตรึงความสนใจ
4.ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
5.การเน้น

6.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดสื่อวัสดุ 3 มิติมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ 1.หุ่นจำลอง (Models) หุ่นจำลองเป็นวัสดุ 3 มิติที่สร้างขึ้นเฟื่อเลียนแบบของจริงหรือใช้แทนของจริง
ที่ไม่สามารถจะนำมาแสดงได้โดยตรง มีการจัดทำหลายประเภท เช่น หุ่นจำลองแสดงลักษณะภายนอก หุ่น
จำลองเหมือนของจริง หุ่นจำลอง แบบขยายหรือแบบย่อ หุ่นจำลองแบบผ่าซีก หุ่นจำลองแบบแยกส่วน หุ่น
จำลองแบบเคลื่อนไหวทำงานได้ และหุ่นจำลองเลียนแบบของจริง เป็นต้น (กัลยา จยุติรัตน์ 2531 :
149- 150) การใช้หุ่นจำลองเป็นสารนิเทศนี้ นิยมใช้ในการเรียนการสอน เช่น ใช้เป็นอุปกรณ์ การสอน
ประกอบการเรียนวิชาแพทยศาสตร์ เป็นต้น เพราะทำให้ง่ายต่อความเข้าใจและเปิดโอกาสให้สามารถศึกษา
ลักษณะ และการทำงานของของจริงได้ง่ายขึ้น
2.ของจริง / ของตัวอย่างแสดงคุณลักษณะต่างๆได้ตรงตามสภาพจริงเป็นลักษณะ 3มิติที่สัมผัสได้ด้วย
ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือสามารถจับต้อง พิจารณารายละเอียดต่างๆได้อย่างชัดเจน
3.ตู้อันตรทัศน์ สื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติ กระตุ้นความสนใจ วัสดุประกอบฉากสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่9

1.วัสดุกราฟฟิคมีลักษณะเป็นอย่างไรจงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ ความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media)และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเองคุณค่าของวัสดุกราฟิก

2.จงบอกคุณค่าของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1.ราคาถูก
2.มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง
3.เก็บรักษาง่าย

3.จงบอกประโยชน์ของวัสดุกราฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1.ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว
2.ประหยัดเวลา
3.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
4.ช่วยให้การอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น

4.วัสดุกราฟิคที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรจงบอกมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1.มีความง่ายต่อความเข้าใจ สามารถสื่อความหมายได้รวดเร็ว
2.ต้องมีการเน้นจุดโดยการใช้สี
3.มีความเป็นเอกภาพทั้งเนื้อหาและรูปแบบ

5.จงบอกหลักการออกแบบวัสดุกราฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1.ตรงกับจุดมุ่งหมายของเนื้อหาวิชา
2.การออกแบบวัสดุกราฟิกควรมีลักษณะง่าย ๆ ส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียด
มากเกิน ไป และขบวนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน
3.มีโครงสร้างที่เหมาะสม กลมกลืนกับวัฒนธรรม สังคม และมีความถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริง

6.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ 1. แผนภูมิ (Charts) แผนภูมิเป็นวัสดุประเภทกราฟิก ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สัญลักษณ์ รูปภาพ และตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยาย ชี้แจง สรุปสาระสำคัญ เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภูมิ ได้แก่ การเปรียบเทียบ ความต่อเนื่อง กระบวนการ ความสัมพันธ์ ขั้นตอน เป็นต้น
ลักษณะแผนภูมิที่ดี
1. เป็นแบบง่ายและแสดงแนวคิดเดียว
2. ขนาดใหญ่ อ่านง่าย ไม่แน่นเกินไป
3. ใช้สีเพื่อการเน้นเป็นสำคัญ
4. ภาพประกอบต้องเหมาะสม น่าสนใจ
5. เนื้อหาถูกต้องตามความเป็นจริง
6. เนื้อหาและคำบรรยายชัดเจน อ่านง่าย
7. มีการทบทวนในการใช้งานและการเก็บรักษา
เทคนิคการนำเสนอ
1. แผนภูมิต้องตรงกับเนื้อหา
2. ต้องติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย
3. อธิบายตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
4. ขณะใช้แผนภูมิต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียน
5. จุดสนใจควรเน้นด้วยสี ขนาด การปิด-เปิด
6. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสนอ
7. การชี้แผนภูมิควรใช้ไม้หรือวัสดุชี้
8. สามารถใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้
2. แผนสถิติ (Graph) แผนสถิติเป็นวัสดุลายเส้นที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข แผนสถิติแต่ละเรื่องควรแจ้งที่มาของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อถือ และเปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ง่ายขึ้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับแผนสถิติ ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณ การเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
ลักษณะแผนสถิติที่ดี
1. ตัวอักษร เส้น สี ต้องชัดเจน น่าสนใจ
2. มีลักษณะดูแล้วเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
3. แสดงแหล่งที่มาของข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
4. ควรนำเสนอในลักษณะเปรียบเทียบหรือแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล
5. แสดงขอมูลในลักษณะประมาณมิใช่เน้นความถี่ของข้อมูล ชนิดของแผนสถิติ
ผนสถิติแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ
1. แผนสถิติแบบเส้น (Line or Curve Graph)
2. แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graph)
3. แผนสถิติแบบวงกลม (Cielr or Pie Graph)
4. แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graph)
5. แผนสถิติแบบแสดงพื้นที่ (Solid Graph)
3. แผนภาพ (Diagrams) แผนภาพเป็นทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของสิ่งของหรือของระบบการทำงาน เช่น การทำงานของลูกสูบรถยนต์ เครื่องกรองน้ำ ส่วนประกอบของดอกไม้ เป็นต้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภาพ ได้แก่ กระบวนการ ความสัมพันธ์ ส่วนประกอบต่าง ๆ หรือโครงสร้างภายใน เป็นต้น ลักษณะแผนภาพที่ดี
1. มีรูปแบบง่าย ๆ แสดงแนวความคิดเดียว
2. ขนาดใหญ่พอสมควร รูปภาพ ตักอักษร อ่านได้ชัดเจน
3. ใช้สีแสดงความแตกต่างและความเหมือนกันเพื่อแสดงความหมายให้ชัดเจน
4. ควรใช้รูปภาพ สัญลักษณ์มากกว่าตัวหนังสือ
เทคนิคการนำเสนอ
1. การใช้แผนภาพผู้เรียนต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นก่อน
2. ควรใช้โสตทัศนวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสมประกอบ เช่น รูปภาพ ของจริง ภาพยนตร์ เป็นต้น
3. แผนภาพจะต้องมีคำอธิบาย จะช่วยป้องกันการสับสนของผู้เรียน
4. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสมอ
5. ควรจัดกิจกรรมต่อเนื่องในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรูปภาพ

7.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของวัสดุฉายแสงมาอย่างน้อย 2 ชนิด
ตอบ 1.สไลด์(Slides)
สไลด์ เป้นสื่อประเภททัสนวัสดุมีลัการะเป้นภาพดปรงใส ผลิตจากฟิลม์ถ่ายรูปชนิด Positive ผนึกติดกับกรอบขนาด 2*2 นิ้ว ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานสไลดืการศึกษา
เนื้อหาที่เหมาะสมกับสไลด์ เนื้อหาที่ต้องการขยายรายละเอียดของภาพให้แจ่มแจ้งชัดเจนและเนื้อหาทีี่ต้องการสร้างความประทับใจผู้เรียนด้วยขนาดและสีสันเหมือนจริง
ลักษณะของสไลด์ที่ดี
สไลด์ที่ดีควรมีคุณภาพ 3 ด้น คือ ด้านวิชาการ การผลิต และการนำเสนอ
1คุณภาพด้านวิชาการ เช่น
-ความถูกต้องของเนื้อหาตรงตามหลักสูตร
-การลำดับเนื้อหาง่ายต่อความเข้าใจ น่าสนใจ
-ได้ผ่านการทดสอบใช้และแก้ไขปรับปรุงมาแล้ว
2.คุณภาพด้านเทคนิคการผลิต เช่น
-ภาพทุกภาพมีความคมชัด
-สีสันสดใสตรงตามความเป็นจริง
-ขนาดตัวอัการและข้อความที่ใช้ประกอบอ่านได้ชัดเจน
3.คุณภาพด้านการนำเสนออาจขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ เช่น
-การเตรียมและการวางแผน
-การกำหนดจุดมุงหมาย
เทคนิคการนำเสนอ
1.กำหนดจุดมุ่งหมายให้การนำเสนอให้ชัดเจน เช่น
-การนำเสนอเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน
-การนำเสนอเพื่อสรุป
2.ผู้สอนต้องทดลองใช้ (Preview) ก่อนการใช้จริง
3.ศึกษาเครื่องมือทีใช้ในการนำเสนอให้เข้าใจและใช้เป็น รวมถึงการติดตั้งเครื่องฉายกับจอให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
4.ก่อนฉายควรบอกจุดเน้นเป็นพิเศษเพื่อสร้างความสนใจและการเรียนรู้ที่ดีแก่ผู้เรียน
เครื่องฉายสไลด์ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.เครื่องฉายสไลดืแบบธรรมดา
2.เครื่องฉายแบบอัตโนมัติ
การวางแผ่นสไลด์
1.วางถาดสไลด์ข้างหน้งให้หมายเลข 1 และหมายเลขสุดท้ายอยู่ด้านขวามือ
2.ให้เริ่มใส่จากหมายเลข 1,2,3,4,5...เรียงไปตามลำดับ โดยถ้าสไลดืมีตัวอัการหรือคำให้วางในทิศทางที่อ่านได้ปกติแล้วกลับหัวลง
3.ในกรณีที่มีรูปภาพไม่มีตัวอักษรให้เอาด้านที่มีลักษณะมันเข้าหาหลอดฉายด้านที่มีความด้านเข้าหาจอแล้วกลับหัวลง
4.ทำเครื่องหมายหัวแม่มือ (Thumb Spot)ในตำแหน่งด้านล่างซ้ายมือ
2.แผ่นภาพโปร่งใส (Transparencies)
แผ่นภาพโปร่งใสเป้นทัศนวัสดุที่นิยมใช้ประกอบการบรรยายหรือถ่ายทอดความรู้เพราะผลิตง่าย ใช้สะดวก สีสันสวยงามและขณะบรรยายควบคู่กับการใช้ภาพโปร่งใสยังสามารถควบคุมชั้นได้ดีด้วย
เนื้อหาที่เหมาะกับแผ่นโปร่งใส แผ่นภาพโปร่งใสทำหน้าที่คล้ายกับสไลด์ แผนภมูิ แผนสถิติ กระดานชอลืค ดังนั้นเนื้อหาที่เหมาะสมจึงมีลักษระกว้่างขวางมีทั้งรูปภาพและตัวอักษร ที่เป็นใจความสำคัญของเนื้อหา
ลักษณะแผ่นภาพโปร่งใสที่ดี
1.ควรบรรจุภาพและข้อความในเนื้อที่ประมาณ 6*8 นิ้ว วางไว้ระดับกึ่งกลาง
2.ขนาดตัวอักษรโตพอสมควร ชื่อเรื่องเด่นชัด สวยงามตรงตามจุดมุงหมาย
3.การใช้สีใน 1 แผ่น ไม่ควรเกิน 4 สี
4.ภาพที่นำเสนอควรเป็นภาพง่ายๆ ข้อความกระทัดรัด
5.แผ่นภาพโป่งใส 1 แผ่น ควรมีจุดมุงหมายเดียว เรื่องเดียว
6.สามารถผลิตด้วยเทคนิคต่างๆได้เหมาะสมกับเนื้อหา เช่น Overlazs Xerographic polarizing เป็นต้น
เทคนิคการนำเสนอ
1.เปิดสวิตช์ปรับ Focus โดยใช้วัสดุทึบแสงให้พื้นที่ฉายภาพเล็กกว่าพื้นที่จอเล็กน้อย เสร็จแล้วปิดสวิตช์ไฟทันที
2.ในกรณีที่ต้องฉายภาพเหมือนจริง ต้องวางตำแหน่งจอกับแสงจากเครื่องฉายให้เป้นมุมฉาก เพื่อแก้ฉาก แชเพื่อแก้ไขภาพผิดเบี้ยวผิดเพี้ยน
3.วางแผ่นใสบนเครื่องฉายใช้กระดาษทึบแสงปานกวฃลางปิดข้อความที่ยังบรรยายไม่ถึงแล้วค่อยๆเลื่อนเปิดไปตามเนื้อหาที่กำลังบรรยาย
4.ไม่ควรเปิดหลอดฉายนานเกิน 15 นาที
5.ควรใช้วัสดุทึบแสงชี้ข้อความหรือภาพ เช่น ไม้ ดินสอ ปากกา เป็นต้น
6.ควรปิดสวิตช์ทุกครั้งที่เปลี่ยนแผ่นภาพโปร่งใส

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่6

1.จงอธิบายความหมายของงานกราฟิคมาพอเข้าใจ
ตอบ ความหมาย “กราฟิค (Graphic)” มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือ Graphikos และ Graphein หมายถึง การเขียน, การวาดเขียนต่อมามีผู้ให้ความหมายหรือคำจำกัดความของคำว่า “กราฟฟิค” ไว้หลายประการ ทั้งไทยและเทศ โดยรวมแล้ว กราฟฟิค คือคำเรียกศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ แต่สำหรับในประเทศไทยนั้นงานกราฟฟิค ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของงานจิตรกรรมไทยมาช้านาน โดยงานจิตรกรรมไทยอาจถูกเรียกว่า ต้นกำเนิดกราฟฟิคไทยเลยก็ว่าได้ เนื่องจากในอดีตการเขียนภาพเป็นรูปแบบหนึ่งในการถ่ายทอดเรื่องราว โดยจิตรกรจะนำเสนอความคิดเห็นทั้งด้านการเมือง สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานจิตรกรรมต่างๆ ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นมา โดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามยุคสมัย จากผลงานที่ถูกจำกัดด้วยอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชนิด แต่ทว่าในปัจจุบันรูปแบบของการสร้างผลงานนั้นแตกต่างออกไป แต่ผลของมันยังคงเหมือนเดิม กราฟฟิคนั้นคอยเล่าเรื่องราวไม่ต่างอะไรนักกับตัวอักษร และในหลายๆ ครั้งอาจทำให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ คงจะไม่ผิดหากผู้เขียนต้องการจะบอกว่า ในมุมมองของผู้เขียนแล้ว “จิตรกรรมไทย” ก็คือ “กราฟฟิคไทย” ในยุคแรกนั่นเอง

2.จงบอกความหมายและคุณค่าของงานกราฟฟิคให้ถูกต้องและครอบคลุม
ตอบ ความหมายของกราฟิค มาจากภากรีก 2 คำ คือ Graphikos และ GrapheinGraphikos หมายถึง การเขียนภาพทั้งที่เป็นภาพสีและภาพขาวดำและ Graphein หมายถึง การเขียนตัวหนังสือและการใช้เส้นในการสื่อความหมายดังนั้นเมื่อรวมกัน Graphic ก็จะหมายถึง การเขียนทั้งภาพสีและภาพขาวดำ ตลอดจนการเขียนตัวหนังสือและการใช้เส้นเพื่อสื่อความหมายคุณค่าของงานกราฟิค
1.ช่วยถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้เป็นรูปธรรมได้ชัดเจน
2.เป็นภาพที่ติดอยู่กับวัสดุต่างๆได้นาน สามารถนำมาอ้างอิงได้
3.ช่วยให้การสื่อสารและการเรียนรู้สะดวกและมีประสิทธิภาพ
4.ช่วยให้ผู้ชมเพลิดเพลินไปกับลายเส้นและสีสันที่สวยงาม
5.เป็นสื่อที่มีปริมาณการรับรู้มากที่สุด

3.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดวัสดุที่ใช้ในงานกราฟิคมาอย่างน้อย 4 ประเภท
ตอบ วัสดุที่ใช้ในงานกราฟฟิคมี 5 ประเภท คือ
1.กระดาษ กระดาษแต่ละชนิดมีลักษณะดังนี้
1.1กระดาษปอนด์ (Bond Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอกและอาจมีส่วนผสม
ของเยื่อที่มาจากเศษผ้า มีสีขาว ผิวไม่เรียบ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60 – 100 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับ
งานพิมพ์ที่ต้องความสวยงามปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้
1.2กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อ
จากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย กระดาษปรู๊ฟมีน้ำหนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง
ราคาไม่แพงแต่ความแข็งแรงน้อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก
1.3 กระดาษโปสเตอร์ (Poster paper)เป็นกระดาษปอนดืที่ขัดมันเรียบหน้าเดียว ส่วนอีกหน้าหนึ่ง
จะปล่อยให้หยาบไว้
1.4 กระดาษวาดเขียน (Drawing Paper) เป็นกระดาษปอนด์ขาว แต่ทำให้เนื้อกระดาษสามารถ
รับสีได้ง่าย และมีผิวเหมาแก่การเขียนภาพระบายสี ดูดหมึกดูดสีไว้โดยง่าย
1.5 กระดาษหน้าขาวหลังเทา นิยมเรียกว่า กระดาษ เทา-ขาว เหมาะกับการทำกล่องที่มีขนาดใหญ่
ไม่มากนัก ทำบัตรคำ แผนภูมิ แผนภาพ โปสเตอร์วัสดุเขียนใช้ได้ทั้งปากกาสักหลาดและพู่กัน
1.6 กระดาษชาร์ทสี เป็นกระดาษเนื้อบางแต่ผิวเรียบมีสีทั้งสองด้าน ส่วนใหญ่จะเป็นสีอ่อนๆเช่น ชมพู เขียว
ฟ้า เหลือง เหมาะสำหรับทำปกรายงาน
2.สี สีที่ใช้ในงานกราฟิคมีหลายชนิด สามารถจำแนกได้ดังนี้
2.1 จำแนกตามคุรสมบัติของวัตถุที่ใช้ผสม ได้แก่ สีเชื้อน้ำและสีเชื้อน้ำมัน เช่น สีน้ำ,สีโปสเตอร์
2.2 จำแนกตามลักษณะการใช้งานได้แก่ สีที่ใช้เขียน ทาระบายและพิมพ์ เช่น สีน้ำ ,สีพลาสติค สีฝุ่น
2.3 จำแนกตามคุณลักษณะทางกายภาพ ได้แก่สีที่มีคุณสมบัติแข็ง เหลว ฝุ่นผงและแสง เช่น เป็นท่อน,
เป็นก้อน ได้แก่ สีเทียน ,สีไม้,สีน้ำแผ่นที่บรรจุในกล่อง
3.วัสดุขีดเขียน แบ่งได้ 2 ประเภท
3.1 ประเภทปลายปากแข็ง ได้แก่
3.1.1 ปากกาปลายแหลม
3.1.2 ปากกาปลายสักหลาด
3.1.3 ปากกาเขียนแบบ
3.1.4 ปากกาที่ใช้เขียนโดยทั่วไป
3.1.5 ดินสอดำ ใช้ในการเขยีน วาดรูป ฯลฯ-H (Hard) เป็นดินสอที่ไส้แข้ง สีอ่อน จะมีตัวเลขจาก
H ถึง 4H-B (Black) เป็นดินอสไส้อ่อน มีสีเข้มจะมีตัวเลขจาก B ถึง 6B-HB เป็นดินสอใช้กัน
ทั่วไป มีคาวมแข็งและเข้มปานกลาง
3.1.6 ดินสอสี
3.1.7 ดินสอเครยอง
3.1.8 ดินสอถ่าน
3.2 ประเภทปลายอ่อน ได้แก่ พู่กันแปรงทาสีฯลฯ
3.2.1 พู่กันกลม
3.2.2 พู่กันแบบ
4.วัสดุสำเร็จรูป
4.1อักษรสำเร็จรูป
4.2ชุดเขียนตัวอักษรลีลอย
5.วัสดุอื่นๆ
วัสดุอื่นๆที่นำมาใช้ในงานกราฟิคมีหลายชนิด เช่นไม่ฉากชุด ,ไม้ที, มีดตัดกระดาษ , กาวยางน้ำ,กระดาษกาวย่น,สกีอตเทปใส ฯลฯ

4.จงอธิบายความหมายของการออกแบบมาให้เข้าใจ
ตอบ การวางแผนสร้างสรรค์รูปแบบโดยการวางแผนจัดส่วนประกอบของการออกแบบให้สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย วัสดุ และการผลิต

5.จงยกตัวอย่างส่วนประกอบของการออกแบบมาอย่างน้อย 5 ประการ
ตอบ
1.เส้น(Line)
2.รูปร่าง, รูปทรง (Shape, Form)
3.ลักษณะผิว (Texture)
4.บริเวณว่าง (Space)
5.แสงและเงา (Light & Shade)

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 5

จงตอบคำถามลงในช่องว่างของแต่ละข้อให้ได้ความสมบรูณ์และถูกต้อง

1.การรับรู้ หมายถึง
กระบวนการแปลหรือตีความต่อสิ่งเร้าข่าวสารที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งหลายอันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปยังสมองในรูปของไฟฟ้าและเคมี สมองซึ่งเป็นคลังเก็บข้อมลูที่มหาศาลก็จะตีความสิ่งเร้าหรือข่าวสารนั้นโดยอาศัยการเทียบเคียงกับข้อมลูที่เคยสะสมไว้ หรือที่เรียกว่า ประสบการณ์เดิม

2.อวัยวะรับสัมผัสมี 5 ทาง คือ
1. ตา เรียกว่า จักษุสัมผัส
2. หู เรียกว่า โสตสัมผัส
3. จมูก เรียกว่า ฆานสัมผัส
4. ลิ้น เรียกว่า ขิวหาสัมผัส
5. ผิวหนัง เรียกว่า กายสัมผัส

3.องค์ประกอบของกระบวนการรับรู้มี 3 ประการ ได้แก่
1.อาการรับสัมผัส
2.การแปลความหมายของอาการสัมผัส
-ปัจจัยทางด้านสรีระ
-ปัจจัยทางด้านจิตทยา
3.ประสบการณ์เดิม


4.ธรรมชาติของการรับรู้มีอะไรบ้าง
1.การเลือกที่จะรับรู้โดยมีแนวโน้มดังนี้
1.1 สิ่งที่ตนสนใจหรือมีความต้องการในขณะนั้น
1.2 สิ่งที่แปลกและเด่นสะดุดตา
2.การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้าเป็นกลุ่มๆอย่างมีแบแผนในการรับรู้
2.1 ความใกล้ชิด(Porxirinity)
2.2 ความคล้ายคลึง(ASimilarity)
3.ความต่อเนื่อง(Continuity)
4.ความสมบรูณ์(Closure)

5.สิ่งต่างๆที่มีอิทธพลต่อการรับรู้ ได้แก่
1.สิ่งเร้าภายนอก
2.สิ่งเร้าภายใน
3.คุณลักษณะของสิ่งเร้า

6.การเรียนรู้ หมายถึง การเปลียนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่ พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป้นผลมาจากประสบการณืเดิมหรือการฝึกฝนมิใช่ผลจากการตอบสนองจากธรรมชาติ สัญชาตญา๊ณ วุฒิภาวะ พิษยาต่างๆ อุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่4

จงเติมคำในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบรูณ์และถูกต้อง

1.คำว่า Communis แปลว่าคล้ายคลึง

2.การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื่อหาสาระ ความรู่สึกนึกคิด ทัสนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า 'ผู้ส่ง'ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งวึ่งเรียกว่า 'ผู้รับ'

3. Sender ---> Message---> Channel ---> Reciever

4.สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัสนคติ ทักาะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด

5.Element หมายถึง องค์ประกอบย่อย พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี
ตัวอย่าง เช่น
สระ s
พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เส้น เป็น

6.Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย มารวมกัน
ตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง

7.Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของผู้ส่ง
ตัวอย่าง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร

8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ที่ถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่าง เช่น ในการสื่อความหมาย

9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ,ความต้องการ
ตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กริยาท่าทาง

10.อุปสรรคหือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึ่งประสงคื แสงแดด ฝนสาด

11.อุปรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล

12. Enocode หมายถึง การแปลความต้องการของคนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่างๆได้

13. Decode หมายถึง การเลือกสื่อและช่องทางที่ไม่เหมาะสม

14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
ตอบ กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
ครู ---> เนื้อหา,หลักสูตร ---> สื่อหรือช่องทาง ---> นักเรียน

15. จงอธิบายถึงความล้มเหลมของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
ตอบ
กระบวนการเรียนการสอนมักจะประสบความล้มเหลวบ่อยๆ เนื่องจากอุปสรรคหลายประการดังนี้
1.ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2.ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3.ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้่างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4.ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำและเนื้อหาโดยรวม
5.ครูผู้สอนมักนำเสนอเนื้อหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมา ทำให้เข้าใจยาก
6.ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียน