วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่9

1.วัสดุกราฟฟิคมีลักษณะเป็นอย่างไรจงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ ความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media)และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเองคุณค่าของวัสดุกราฟิก

2.จงบอกคุณค่าของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1.ราคาถูก
2.มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง
3.เก็บรักษาง่าย

3.จงบอกประโยชน์ของวัสดุกราฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1.ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว
2.ประหยัดเวลา
3.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
4.ช่วยให้การอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น

4.วัสดุกราฟิคที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรจงบอกมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1.มีความง่ายต่อความเข้าใจ สามารถสื่อความหมายได้รวดเร็ว
2.ต้องมีการเน้นจุดโดยการใช้สี
3.มีความเป็นเอกภาพทั้งเนื้อหาและรูปแบบ

5.จงบอกหลักการออกแบบวัสดุกราฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1.ตรงกับจุดมุ่งหมายของเนื้อหาวิชา
2.การออกแบบวัสดุกราฟิกควรมีลักษณะง่าย ๆ ส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียด
มากเกิน ไป และขบวนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน
3.มีโครงสร้างที่เหมาะสม กลมกลืนกับวัฒนธรรม สังคม และมีความถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริง

6.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ 1. แผนภูมิ (Charts) แผนภูมิเป็นวัสดุประเภทกราฟิก ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สัญลักษณ์ รูปภาพ และตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยาย ชี้แจง สรุปสาระสำคัญ เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภูมิ ได้แก่ การเปรียบเทียบ ความต่อเนื่อง กระบวนการ ความสัมพันธ์ ขั้นตอน เป็นต้น
ลักษณะแผนภูมิที่ดี
1. เป็นแบบง่ายและแสดงแนวคิดเดียว
2. ขนาดใหญ่ อ่านง่าย ไม่แน่นเกินไป
3. ใช้สีเพื่อการเน้นเป็นสำคัญ
4. ภาพประกอบต้องเหมาะสม น่าสนใจ
5. เนื้อหาถูกต้องตามความเป็นจริง
6. เนื้อหาและคำบรรยายชัดเจน อ่านง่าย
7. มีการทบทวนในการใช้งานและการเก็บรักษา
เทคนิคการนำเสนอ
1. แผนภูมิต้องตรงกับเนื้อหา
2. ต้องติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย
3. อธิบายตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
4. ขณะใช้แผนภูมิต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียน
5. จุดสนใจควรเน้นด้วยสี ขนาด การปิด-เปิด
6. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสนอ
7. การชี้แผนภูมิควรใช้ไม้หรือวัสดุชี้
8. สามารถใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้
2. แผนสถิติ (Graph) แผนสถิติเป็นวัสดุลายเส้นที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข แผนสถิติแต่ละเรื่องควรแจ้งที่มาของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อถือ และเปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ง่ายขึ้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับแผนสถิติ ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณ การเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
ลักษณะแผนสถิติที่ดี
1. ตัวอักษร เส้น สี ต้องชัดเจน น่าสนใจ
2. มีลักษณะดูแล้วเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
3. แสดงแหล่งที่มาของข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
4. ควรนำเสนอในลักษณะเปรียบเทียบหรือแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล
5. แสดงขอมูลในลักษณะประมาณมิใช่เน้นความถี่ของข้อมูล ชนิดของแผนสถิติ
ผนสถิติแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ
1. แผนสถิติแบบเส้น (Line or Curve Graph)
2. แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graph)
3. แผนสถิติแบบวงกลม (Cielr or Pie Graph)
4. แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graph)
5. แผนสถิติแบบแสดงพื้นที่ (Solid Graph)
3. แผนภาพ (Diagrams) แผนภาพเป็นทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของสิ่งของหรือของระบบการทำงาน เช่น การทำงานของลูกสูบรถยนต์ เครื่องกรองน้ำ ส่วนประกอบของดอกไม้ เป็นต้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภาพ ได้แก่ กระบวนการ ความสัมพันธ์ ส่วนประกอบต่าง ๆ หรือโครงสร้างภายใน เป็นต้น ลักษณะแผนภาพที่ดี
1. มีรูปแบบง่าย ๆ แสดงแนวความคิดเดียว
2. ขนาดใหญ่พอสมควร รูปภาพ ตักอักษร อ่านได้ชัดเจน
3. ใช้สีแสดงความแตกต่างและความเหมือนกันเพื่อแสดงความหมายให้ชัดเจน
4. ควรใช้รูปภาพ สัญลักษณ์มากกว่าตัวหนังสือ
เทคนิคการนำเสนอ
1. การใช้แผนภาพผู้เรียนต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นก่อน
2. ควรใช้โสตทัศนวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสมประกอบ เช่น รูปภาพ ของจริง ภาพยนตร์ เป็นต้น
3. แผนภาพจะต้องมีคำอธิบาย จะช่วยป้องกันการสับสนของผู้เรียน
4. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสมอ
5. ควรจัดกิจกรรมต่อเนื่องในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรูปภาพ

7.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของวัสดุฉายแสงมาอย่างน้อย 2 ชนิด
ตอบ 1.สไลด์(Slides)
สไลด์ เป้นสื่อประเภททัสนวัสดุมีลัการะเป้นภาพดปรงใส ผลิตจากฟิลม์ถ่ายรูปชนิด Positive ผนึกติดกับกรอบขนาด 2*2 นิ้ว ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานสไลดืการศึกษา
เนื้อหาที่เหมาะสมกับสไลด์ เนื้อหาที่ต้องการขยายรายละเอียดของภาพให้แจ่มแจ้งชัดเจนและเนื้อหาทีี่ต้องการสร้างความประทับใจผู้เรียนด้วยขนาดและสีสันเหมือนจริง
ลักษณะของสไลด์ที่ดี
สไลด์ที่ดีควรมีคุณภาพ 3 ด้น คือ ด้านวิชาการ การผลิต และการนำเสนอ
1คุณภาพด้านวิชาการ เช่น
-ความถูกต้องของเนื้อหาตรงตามหลักสูตร
-การลำดับเนื้อหาง่ายต่อความเข้าใจ น่าสนใจ
-ได้ผ่านการทดสอบใช้และแก้ไขปรับปรุงมาแล้ว
2.คุณภาพด้านเทคนิคการผลิต เช่น
-ภาพทุกภาพมีความคมชัด
-สีสันสดใสตรงตามความเป็นจริง
-ขนาดตัวอัการและข้อความที่ใช้ประกอบอ่านได้ชัดเจน
3.คุณภาพด้านการนำเสนออาจขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ เช่น
-การเตรียมและการวางแผน
-การกำหนดจุดมุงหมาย
เทคนิคการนำเสนอ
1.กำหนดจุดมุ่งหมายให้การนำเสนอให้ชัดเจน เช่น
-การนำเสนอเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน
-การนำเสนอเพื่อสรุป
2.ผู้สอนต้องทดลองใช้ (Preview) ก่อนการใช้จริง
3.ศึกษาเครื่องมือทีใช้ในการนำเสนอให้เข้าใจและใช้เป็น รวมถึงการติดตั้งเครื่องฉายกับจอให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
4.ก่อนฉายควรบอกจุดเน้นเป็นพิเศษเพื่อสร้างความสนใจและการเรียนรู้ที่ดีแก่ผู้เรียน
เครื่องฉายสไลด์ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.เครื่องฉายสไลดืแบบธรรมดา
2.เครื่องฉายแบบอัตโนมัติ
การวางแผ่นสไลด์
1.วางถาดสไลด์ข้างหน้งให้หมายเลข 1 และหมายเลขสุดท้ายอยู่ด้านขวามือ
2.ให้เริ่มใส่จากหมายเลข 1,2,3,4,5...เรียงไปตามลำดับ โดยถ้าสไลดืมีตัวอัการหรือคำให้วางในทิศทางที่อ่านได้ปกติแล้วกลับหัวลง
3.ในกรณีที่มีรูปภาพไม่มีตัวอักษรให้เอาด้านที่มีลักษณะมันเข้าหาหลอดฉายด้านที่มีความด้านเข้าหาจอแล้วกลับหัวลง
4.ทำเครื่องหมายหัวแม่มือ (Thumb Spot)ในตำแหน่งด้านล่างซ้ายมือ
2.แผ่นภาพโปร่งใส (Transparencies)
แผ่นภาพโปร่งใสเป้นทัศนวัสดุที่นิยมใช้ประกอบการบรรยายหรือถ่ายทอดความรู้เพราะผลิตง่าย ใช้สะดวก สีสันสวยงามและขณะบรรยายควบคู่กับการใช้ภาพโปร่งใสยังสามารถควบคุมชั้นได้ดีด้วย
เนื้อหาที่เหมาะกับแผ่นโปร่งใส แผ่นภาพโปร่งใสทำหน้าที่คล้ายกับสไลด์ แผนภมูิ แผนสถิติ กระดานชอลืค ดังนั้นเนื้อหาที่เหมาะสมจึงมีลักษระกว้่างขวางมีทั้งรูปภาพและตัวอักษร ที่เป็นใจความสำคัญของเนื้อหา
ลักษณะแผ่นภาพโปร่งใสที่ดี
1.ควรบรรจุภาพและข้อความในเนื้อที่ประมาณ 6*8 นิ้ว วางไว้ระดับกึ่งกลาง
2.ขนาดตัวอักษรโตพอสมควร ชื่อเรื่องเด่นชัด สวยงามตรงตามจุดมุงหมาย
3.การใช้สีใน 1 แผ่น ไม่ควรเกิน 4 สี
4.ภาพที่นำเสนอควรเป็นภาพง่ายๆ ข้อความกระทัดรัด
5.แผ่นภาพโป่งใส 1 แผ่น ควรมีจุดมุงหมายเดียว เรื่องเดียว
6.สามารถผลิตด้วยเทคนิคต่างๆได้เหมาะสมกับเนื้อหา เช่น Overlazs Xerographic polarizing เป็นต้น
เทคนิคการนำเสนอ
1.เปิดสวิตช์ปรับ Focus โดยใช้วัสดุทึบแสงให้พื้นที่ฉายภาพเล็กกว่าพื้นที่จอเล็กน้อย เสร็จแล้วปิดสวิตช์ไฟทันที
2.ในกรณีที่ต้องฉายภาพเหมือนจริง ต้องวางตำแหน่งจอกับแสงจากเครื่องฉายให้เป้นมุมฉาก เพื่อแก้ฉาก แชเพื่อแก้ไขภาพผิดเบี้ยวผิดเพี้ยน
3.วางแผ่นใสบนเครื่องฉายใช้กระดาษทึบแสงปานกวฃลางปิดข้อความที่ยังบรรยายไม่ถึงแล้วค่อยๆเลื่อนเปิดไปตามเนื้อหาที่กำลังบรรยาย
4.ไม่ควรเปิดหลอดฉายนานเกิน 15 นาที
5.ควรใช้วัสดุทึบแสงชี้ข้อความหรือภาพ เช่น ไม้ ดินสอ ปากกา เป็นต้น
6.ควรปิดสวิตช์ทุกครั้งที่เปลี่ยนแผ่นภาพโปร่งใส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น